¡ÑÅÂÒ ºØ­­Ò¹ØÇѵà - โคพื้นเมือง
   
  กัลยา บุญญานุวัตร
  Animal Research
  => โคพื้นเมือง
  Contact
  Guestbook


โคพื้นเมืองไทย

     โคพื้นเมืองไทยมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก เกษตรกรในชนบทเลี้ยงโคพื้นเมืองมาเป็นเวลานาน ดังข้อความที่พบในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เขียนไว้ว่า ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าวัวค้า ซึ่งในสมัยก่อนคนไทยเลี้ยงโคเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เช่น การไถนา การลากเกวียน การนวดข้าว หรือการลากจูงสัมภาระในการย้ายถิ่นฐาน การขนเสบียง ขนอาวุธ ในการทำสงคราม เพราะฉะนั้นโคพื้นเมืองไทย นอกจากจะมีความสำคัญทางด้านการเกษตรแล้ว ในสมัยโบราณโคพื้นเมืองไทยยังมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศด้วย การเลี้ยงโคพื้นเมืองไทยดั้งเดิมไม่ได้มีแผนการคัดเลือกและแผนการผสมพันธุ์ที่ชัดเจน เพียงแต่มีการสังเกตขวัญในการคัดเลือก เพราะในสมัยก่อนไม่ได้ทำพันธุ์ประวัติโค เพียงแต่คนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนตั้งข้อสังเกตไว้ว่า โคจะมีการถ่ายทอดลักษณะตำแหน่งขวัญตามสายแม่ เพราะลูกโคทุกตัวจะมีตำแหน่งขวัญเหมือนแม่ คนโบราณจึงใช้ตำแหน่งขวัญในการคัดเลือกโคพื้นเมือง เหมือนกับการใช้พันธุ์ประวัติ แต่เคร็ดลับเหล่านี้ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทยไม่ได้แพร่หลายนัก ต่างจากพวกฝรั่งข้อเท็จจริงเล็กๆน้อยๆเหล่านี้คงจะได้รับการพิสูจน์ไปแล้ว ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงได้รับการคัดเลือก 2  ทางคือ 1)คัดเลือกโดยพันธุ์ประวัติ (ใช้ตำแหน่งขวัญ) และ 2)คัดเลือกโดยธรรมชาติ ตัวไหนแข็งแรง รอดตาย จะได้รับการคัดเลือก และผสมพันธุ์ จึงทำให้โคพื้นเมืองไทยมีลักษณะความทน แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง ทนร้อน มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง เลี้ยงง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ ในชนบท เกษตรกรเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อใช้แรงงาน โคชน โควิ่งลาน และผลิตเนื้อสำหรับบริโภค ซึ่งเนื้อโคพื้นเมืองเป็นเนื้อโคที่มีคุณภาพ และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้บางสถานที่ยังมีความเชื่อว่าโคพื้นเมืองเป็นโคอุศุภราชของพระอิศวร เช่น โคขาวลำพูนของภาคเหนือ โคชนภาคใต้ ลักษณะสีของโคอุศุภราชขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ สีกีบ สีเขา จะต้องเป็นสีชมพูอมส้ม (โคขาวลำพูน) หรือสีส้ม สีหมากสุก (พญาวัว ของโคชนทางภาคใต้) จากประวัติความเป็นมาและการใช้งานจะเห็นได้ว่าโคพื้นเมืองไทยเป็นมรดกทางปัญญา และเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ เนื้อโคพื้นเมืองไทยมีรสชาติอร่อยเหมาะสมกับอาหารไทย ลักษณะที่สำคัญของโคพื้นเมืองไทยคือ มีความต้านทานต่อโรคและแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็บโค นอกจากนี้โคพื้นเมืองยังมีความสามารถในการทนร้อน มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง สามารถให้ลูกได้ทุกปี ซึ่งลักษณะการให้ลูกทุกปีนั้นทำให้ให้การเลี้ยงโคพื้นเมืองไทยมีลักษณะเป็นกระปุกออมสินของครอบครัว โคพื้นเมืองไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของประเทศไทย    


 การใช้โคขาวลำพูนในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


          การใช้โคไถนา


             โคอีสาน


             โคลาน


            โคชน

โคชนภาคใต้

                โคชนหรือวัวชนภาคใต้ ได้รับการอนุรักษ์โดยธรรมชาติ เนื่องจากกีฬาการชนวัว ซึ่งมีความเป็นมาที่ยาวนานมาก สมัยก่อนมีการชนวัวหลังจากการเก็บเกี่ยว เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีของเกษตรกร กีฬาชนวัวได้พัฒนาจนมีการตั้งบ่อนวัวชน จนถูกมองว่ากีฬาวัวชนเป็นเกมการพนัน แต่ถ้าเรามองให้มีความเป็นธรรมจริงๆ จะเห็นได้ว่า การชนวัวมีมาแต่ดั้งเดิม ส่วนการพนันพึ่งแทรกเข้าไปในตอนหลัง คนเลี้ยงวัวชนมักจะไม่ค่อยพนัน หรือจะพนันก็น้อย แต่คนที่เล่นพนันวัวชนมักจะไม่ใช่คนเลี้ยงวัว แต่สิ่งที่สำคัญก็คือกีฬาวัวชนช่วยรักษาวัวชนภาคใต้ไว้ เพราะการเลี้ยงวัวชน เกษตรกรจะไม่ตอนตัวผู้ และมักจะเลือกโคตัวผู้ตัวใหญ่ และไม่ยอมผสมข้ามวัวชนกับวัวสายพันธุ์อื่น ซึ่งสามารถพูดได้ว่า กีฬาวัวชนสามารถรักษาสายพันธุ์วัวชนที่มีลักษณะโครงร่างใหญ่และแข็งแรงไว้ให้ลูกหลาน ซึ่งเกษตรกรเลี้ยงวัวชนผสมผสานกับการปลูกพืช หรือการเกษตรแบสมลม

                วัวชนภาคใต้มีความหลากหลายของสีขน และสีหนัง เช่น ขนสีแดง สีลางสาด สีดำ และสีลาย สะดือชิดพื้นท้อง ไม่มีเหนียงหย่อนยาน มีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 15 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม 88 กิโลกรัม มีลักษณะทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง และมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง เกษตรกรใช้สมุนไพรในการป้องกัน และควบคุมโรควัวชน วัวชนภาคใต้นอกจากจะเลี้ยงเพื่อฝึกเป็นวัวชนนั้น วัตถุประสงค์หลักคือการเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อบริโภค เกษตรกรเลี้ยงวัวชนในแปลงหญ้าธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหญ้าพื้นเมือง เช่นหญ้าหวายข้อ หญ้าน้ำ แต่ในปัจจุบันก็มีบ้างที่เกษตรกรปลูกหญ้าที่กรมปศุสัตว์แนะนำ เช่น หญ้าขน หญ้าแพงโกล่า ซึ่งอาจจะให้ผลผลิตมากกว่าหญ้าธรรมชาติ แต่วัวชนชอบกินหญ้าพื้นเมืองมากกว่า เกษตรกรใช้มูลวัวชนเป็นปุ๋ยคอกในการปลูกพืชและการทำนา การเลี้ยงวัวชนช่วยเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย

                จุดกำเนิดของกีฬาชนวัวไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามาจากไหน หรือเป็นกีฬาดั้งเดิมของภาคใต้ แต่มีมานานกว่า 500 ปี ในอดีตมีการชนวัวกันตามท้องนาหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อผ่อนคลาย ทั้งเกษตรกร และวัวชนหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการฉลองการเสร็จงานอย่างหนึ่ง ปัจจุบันกีฬาชนวัวเป็นที่สนใจของคนทั่วไป จึงมีการตั้งบ่อนชนวัวขึ้นมา และทำให้กิจกรรมอื่นๆเกิดขึ้นมากมายในบ่อนชนวัว เช่นการขายของ

วัวชนจะไม่ถูกตอน เกษตรกรกรจะคัดตัวผู้ที่ใหญ่ แข็งแรง อดทน และฉลาด ไว้เป็นวัวชน ซึ่งทำให้พ่อวัวชนเหล่านี้สามารถผสมพันธืได้ในช่วงที่ว่างจากการชน หรือถูกปลดระวางจากการชน ทำให้วัวเหล่านี้สามารถขยายพันธุ์ต่อไป จึงพูดได้ว่ากีฬาวัวชนสามารถอนุรักษ์พันธุกรรมของวัวชนไว้ชั่วรุ่นลูกหลาน

 

   
Today, there have been 1 visitors (3 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free